มาทำความรู้จักโรคอ้วนกันเถอะ




ในปัจจุบันประชากร ที่เป็น"โรคอ้วน" มีจำนวนมากขึ้นทุกวันเนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารรวยมทั้งสังคม และชีวิตความเป็นอยุ่ในปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากอดีตการรับประทานอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสม โดยเฉพาะอาหารประเภท คาร์โบไฮ-เดรต แป้ง  น้ำตาล และไขมันล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมัน จนเกิดโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา อาทิ โรคหลอดเลือดและหัวใจ รคความดันโลหิตสูง ดรคกระดูกและข้อเสื่อม เราจึงควรให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น เพื่อความสมบูรณ์ และแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ เมื่อรู้เช่นนี้แล้วเรามารู้จักโรคอ้วนกันดีกว่า

รู้จักโรคอ้วนกันเถอะ

โรคอ้วน (Obesity) หมายถึง ความผิดปกติจากการมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน เนื่องจากร่างกายมีภาวะไขมันสะสมตามอวัยวะส่วนต่างๆ มากเกินกว่าปกติ  สาเหตุสำคัญของโรคอ้วนเกิดจากการที่คนเราใช้พลังงานน้อยกว่าที่ได้รับจากการ รับประทานอาหาร พลังงานที่ได้จึงมากเกินความต้องการในแต่ละวัน ทำให้ร่างกายเก็บสะสมพลังงานส่วนเกินไว้ในรูปไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย



โรคอ้วนมีกี่ชนิด ?


เนื่องจากการแบ่งประเภทของโรคอ้วนนั้นมีการแบ่งที่หลากหลาย ทางผู้จัดทำจึงนำมาให้ผู้อ่านได้ศึกษาในแบบต่างๆได้หลายรูปแบบ ได้ทราบถึงลักษณะต่างๆของโรคอ้วนและน้ำไปเปรียบเทียบกับตนเองได้ 


โรคอ้วนแบ่งได้เป็น 3 ชนิด

1.อ้วนแบบลูกแอปเปิ้ล (apple-shape obesity) 
 อ้วนลงพุง (central obesity) คือคนอ้วนที่มีรอบเอวใหญ่กว่ารอบสะโพก เกิดจากมีไขมันสะสมมากในช่องท้องและอวัยวะภายใน ไขมันที่อยู่ในอวัยวะภายในนี้จะเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง

2.อ้วนแบบลูกแพร์ (pear-shape obesity) 

อ้วนชนิดสะโพกใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่พบในเพศหญิง โดยจะมีไขมันสะสมอยู่มากบริเวณสะโพกและน่อง อ้วนลักษณะนี้ยากต่อการลดน้ำหนัก แต่โอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ จะน้อยกว่าชนิดแรก

3.อ้วนทั้งตัว (generalized obesity) 

คนอ้วนที่มีไขมันทั้งตัวมากกว่าปกติกระจายตัวอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยรอบ มีทั้งลงพุงและสะโพกใหญ่ รวมถึงมีโรคแทรกซ้อนทุกอย่างดังกล่าว และโรคที่เกิดจากน้ำหนักตัวมากโดยตรง เช่น โรคทางไขข้อ ปวดข้อ ข้อเสื่อม ปวดหลัง เหนื่อยง่าย หายใจลำบากเพราะไขมันสะสม ทำให้ระบบหายใจทำงานติดขัด

    พุงในลักษณะต่างๆ


    ผู้หญิงอย่างเรา หรือแม้แต่ผู้ชาย มักจะชอบบ่นเรื่องมีพุง พุงป่อง พุงโต กันเป็นประจำ และการที่เรามีพุงยื่นออกมา เป็นที่น่ารำคาญใจ มันมีสาเหตุมาจากอะไร พออ่านมาถึงตรงนี้ คงจะมีหลายคน รีบตอบอย่างมั่นใจ ว่าที่เป็นก็เพราะกินเยอะไป จนอ้วนลงพุงนั่นล่ะ แต่คุณจะรู้หรือไม่ ว่าหน้าท้อง ที่มันยื่นออกมานั่น อาจมาจากสาเหตุอื่น นอกจากการกินก็ได้ และที่สำคัญ ลักษณะของพุง หรือหน้าท้องของคนเรา ยังสามารถแบ่งแยกได้เป็นหลายประเภทด้วยนะ แต่จะแบ่งเป็นประเภทไหนบ้าง ลองไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลยค่ะ

    8178-001

    “พุงเป็นชั้น” (Spare Tyre Tummy)
    ถือว่าเป็นพุงแบบที่แก้ไขได้ง่ายที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยสาเหตุหลัก มาจากการกินอาหารที่มีรสหวานมากจนเกินไป และขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ โดยคนประเภทนี้มีแนวโน้มว่า จะเป็นผู้ที่ทำงานแบบนั่งโต๊ะ โดยมีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต พวก ข้าว แป้ง ขนมปัง เค้ก และขนมหวาน โดยที่จะมีชั้นของไขมันที่มาก และมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน

    วิธีลดพุงเป็นชั้น
    ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัว เพิ่มไขมันหน้าท้อง อยากให้ทราบว่า การดื่มแค่เพียงไม่กี่แก้ว จำนวน 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ทำให้มีไขมันหน้าท้อง หรือเรียกได้ว่าพุงยื่น นั่นเอง
    หลีกเลี่ยงอาการประเภทที่มีไขมันสูง เลิกกินอาหารจำพวกแป้ง เช่น ขนมขบเคี้ยวต่างๆ เพราะมันเต็มไปด้วยคาร์โบไฮเดรต น้ำมัน น้ำตาล เกลือ และสารกันบูด ซึ่งไม่ส่งผลดีกับร่างกายเลย
    เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ไขมันต่ำ ที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อปลา เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารทอด หรือผัด ที่ต้องใช้น้ำมันเยอะๆ
    ออกกำลังกายให้มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องไปเข้ายิมให้วุ่นวาย เพียงแค่ออกกำลังกายง่ายๆ ขณะอยู่บ้าน เช่นการเล่นโยคะ หรือเดินให้มากขึ้น ก็สามารถช่วยได้


    8178-002


    “พุงเครียด” (Stress Tummy)
    พุงเครียดนี้ มักจะเกิดกับคนที่มีนิสัยชอบความเฟอร์เฟค สมบูรณ์แบบไปซะทุกอย่าง และอาจมีปัญหาในเรื่องระบบย่อยอาหารควบคู่ไปด้วย เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) จึงทำให้หน้าท้องเกิดการบวมอืด โดยจะมีหน้าท้องยื่นออกมาระหว่างช่วงสะดือ และกระบังลม เมื่อเกิดความเครียดขึ้น ร่างกายก็จะผลิต คอร์ติซอล (cortisol) ฮอร์โมน ที่ทำให้ร่างกายผลิตไขมันขึ้นที่บริเวณหน้าท้อง คนที่มีนิสัยชอบกินอาหารไม่ตรงตามเวลา กินบางมื้อ ข้ามบางมื้อ และทำให้ไตทำงานผิดปกติ เพราะชอบทานเครื่องดื่ม ที่มีสารคาเฟอีน และกินอาหารขยะเป็นประจำ

    วิธีลดพุงเครียด
    ทำใจให้สบาย แล้วนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ถ้าเกิดอาการเครียดจนนอนไม่หลับ ระบบของร่างกาย ก็จะทำงานเผาพลาญพลังงานไม่เป็นปกติ และเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดการสะสมของน้ำตาล และคาร์โบไฮเดรตเอาไว้มากขึ้น
    หาเวลาผ่อนคลายความเครียด เช่นการนอนแช่น้ำนานๆ หรือไปพักผ่อน เข้าร้านสปา และลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน ห้ามดื่มมากเกินวันละ 2 แก้ว
    การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ อาจไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหา พุงเครียด เพราะมันจะทำให้ฮอร์โมน คอร์ติซอล (cortisol) ถูกผลิตออกมามากขึ้น เปลี่ยนเป็นการเล่นโยคะ เดินไกล หรือกีฬาที่เสริมสร้างความแข็งแรง ให้กับกล้ามเนื้อแทน


    8178-003


    พุงหมาน้อย หรือพุงป่องช่วงล่าง (The Little Pooch)
    ผู้หญิงที่มีพุงลักษณะนี้ มักจะเป็นคนที่มีธุรกิจรัดตัว ยุ่งอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นเพราะต้องทำงานอยู่ตลอด อาจจะเป็นคนที่ชอบ หรือเรียกว่าเสพติดการออกกำลังกายด้วยซ้ำ แต่ชอบออกกำลังกายท่าซ้ำๆ แน่นอนว่ามันทำให้ร่างกายคุณดูผอม แต่กลับมีพุงยื่นออกมา ทำลายภาพลักษณ์โดยรวมซะหมด อย่าออกกำลังกายส่วนท้องมากเกินไป เพราะมันจะทำให้หน้าท้องมีกล้ามเนื้อ และยื่นออกมาอย่างที่เห็น

    วิธีลดพุงหมาน้อย หรือพุงป่องช่วงล่าง
    การรับประทานที่มีกากใยมากๆ สามารถช่วยให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้นได้ และสามารถลดอาการบวดอืด ของหน้าท้อง โดยเน้นการรับประทานอาหารประเภท ผักใบเขียว ธัญพืชให้มากขึ้น
    การซิทอัพ ที่ผิดวิธี จะทำให้เกิดอาหารปวดหลังได้ ลองเปลี่ยนจากการซิทอัพ เป็นท่าแพลงกิ้ง วิดพื้น เพื่อออกกำลังกายช่วงแขน บ่า ไหล่ บ้าง
    ลองเปลี่ยนเป็นการออกกำลังกายแบบเซต สลับกันไปในแต่ละท่า ให้ร่างกายทุกส่วนได้ออกกำลังกายหมด

    8178-004


    พุงคุณแม่ “The Mummy Tummy”
    คนที่มีพุงลักษณะนี้ มักจะเป็นคุณแม่ ที่เพิ่งผ่านการคลอดบุตรมาเมื่อไม่กี่ปี หรือมดลูกหย่อน ซึ่งโดยปกติแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ ถึงจะกลับคืนสู่สภาพปกติ ซึ่งที่เราเรียกว่า มดลูกเข้าอู่นั่นเอง ซึ่งคุณแม่ทั้งหลาย ก็อย่าเพิ่งรีบร้อน ที่จะทำให้หน้าท้อง กลับคืนสู่สภาพเดิม จนกว่าจะถึงเวลานั้นนะคะ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า อย่าเพิ่งออกกำลังกาย จนกว่าร่างกายจะกลับสู่สภาวะปกติ ตอนนี้ให้เอาเวลาไปสนใจลูกน้อยที่เพิ่งคลอดดีกว่า จะไม่ได้ต้องเครียดจนเกินไป

    วิธีการลดพุงคุณแม่
    ให้ลองกินผลิคภัณฑ์เสริมอาหาร ประเภทน้ำมันตับปลา เพื่อเพิ่มฮอร์โมนเผาพลาญไขมัน และลดการทำงานของฮอร์โมนที่เก็บสะสมไขมัน โดยการรับประทานน้ำมันตับปลาชนิดแคปซูล 1,000 มิลลิกรัม จำนวน 3 เม็ดทุกวัน ระหว่างรับประทานอาหาร
    พยายามรับประทานไขมันที่มีประโยชน์ เช่น ไขมันจากถั่ว น้ำมันมะกอก เป็นประจำทุกวัน
    นอนกลางวัน และยืดเส้นยืดสายซักเล็กน้อย ก่อนเข้านอน เพราะมันจะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมน ที่ช่วยในการเผาพลาญไขมันให้มากขึ้น


    8178-005


    พุงป่อง “The Bloated Tummy”
    พุงลักษณะนี้ มักจะแบนราบในตอนเช้า และบวมอืดในตอนกลางวัน เนื่องจากแก๊ส ที่มาจากอาหารไม่ย่อย หรือที่เรียกว่าท้องอืดนั่นเอง และเป็นไปได้ว่า จะเกิดจากการแพ้อาหาร ลำไส้ทำงานไม่เต็มที่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารไม่ดี และเกิดจากการกินอาหาร แบบนี้เป็นประจำ โดยที่ไม่รู้เลยว่าแพ้อาหารชนิดนั้นๆ

    วิธีลดอาการพุงป่อง The Bloated Tummy
    อาหารส่วนใหญ่ ที่ทำให้เกิดอาหารเช่นนี้ คือ พาสต้า ขนมปัง พิซซ่า เค้ก แอลกอฮอล์ หรือ นม เนย ชีส หรือแม้แต่โปรตีนจากข้าว อย่างกลูเตน ก็ทำให้หน้าท้องบวมขึ้นมา จนเป็นปัญหาหน้าท้องใหญ่

    ลองลดอาหารน่าสงสัย ที่กินอยู่ทุกวัน แล้วคอยสังเกตดูว่า หน้าท้องยังมีอาการอืดอยู่หรือไม่ และเพิ่มการรับประทานอาหารจำพวกพืชผัก และรับประทานโปรตีน จากปลา หรือไก่แทน



    รู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคอ้วน ?

    ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจสอบอยู่หลายวิธีตั้งแต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือการดู จากสายตา วิธีนี้ถ้าใครอ้วนมากๆก็ง่าย แต่ถ้าบางคนอ้วนไม่มากอาจบอกได้ไม่ชัดเจน

    วิธีที่นิยมในปัจจุบันเพื่อ บอกให้ชัดเจนว่าผู้ใดเป็นโรคอ้วนหรือไม่? เราใช้วิธีคำนวนหาดัชนีความหนาของร่างกาย ค่าที่ได้ต้องมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป จึงจะบอกว่าเริ่มเป็นโรคอ้วน
    วิธีคำนวนหา ดัชนีความหนาของร่างกาย ให้ท่านชั่งน้ำหนักสมมุติว่าได้ 60 กิโลกรัม และวัดส่วนสูงได้ 1 เมตร 50 เซนติเมตร ให้เอา 60หารด้วย 1.5 ยกกำลังสอง คำนวณออกมาได้เท่ากับ 26.66 กิโลกรัมต่อตารางเมตร แสดงว่าท่านเริ่มอ้วนแล้ว เพราะค่าปกติดัชนีความหนาของร่างกายอยู่ระหว่าง 20-24.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

    นอกจากนี้ อาจใช้อุปกรณ์วัดไขมันใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขนด้านหลัง ซึ่งต้องให้คนอื่นมาช่วยวัดให้

    กล่าว โดยสรุป ผู้ใดมีน้ำหนักมากกว่าที่ควรจะเป็น 20% ถือว่าเป็นโรคอ้วน สำหรับสูตรการคำนวณใช้วิธีหาดัชนีความหนาของร่างกาย ซึ่งเท่ากับน้ำหนักชั่งเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงวัดเป็นเมตรยกกำลังสอง ค่าที่ได้ต้องไม่เกิน 25 จึงถือว่าพอดี



    สาเหตุของโรคอ้วน

    กรรมพันธุ์
    - ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งคู่ลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่อ้วนลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 40 แต่ไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุ ไม่ใช่ว่าคุณจะสิ้นโอกาสผอมหรือหุ่นดี

    นิสัยจากการรับประทานอาหาร
    - คนที่มีนิสัยไม่ดีในการรับประทานอาหาร หรือที่เรียกกันว่า กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลาก็ทำให้อ้วนขึ้นได้

    การไม่ออกกำลังกาย
    - ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดี แต่มีการออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้ยืดเวลาความอ้วน แต่ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดีแล้วนั่งๆ นอนๆ โดยไร้ซึ่งการยืดเส้นยืดสาย ในไม่ช้าก็จะเกิดการสะสมไขมันในร่างกาย

    อารมณ์และจิตใจ
     - มีบางคนที่รับประทานอาหารตามอารมณ์และจิตใจ เช่น กินอาหารเพื่อดับความโกรธแค้น กลุ้มใจ กังวลใจ บุคคลเหล่านี้จะรู้สึกว่าอาหารทำให้ใจสงบ จึงยึดอาหารไว้เป็นสิ่งที่สร้างความสบายใจ
     - แต่ในทางกลับกัน บางคนที่รู้สึกเสียใจ กลุ้มใจ ก็กินอาหารไม่ได้ ถ้าในระยะเวลานานๆ ก็มีผลทำให้เกิดการขาดอาหาร ฯลฯ
    ความไม่สมดุลกับความรู้สึกอิ่ม ความหิว ความอยากอาหาร - เมื่อใดที่ความอยากกินเพิ่มขึ้นเมื่อนั้นการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้น "กินจุ" ในที่สุดก็จะทำให้เกิดความอ้วน

    เพศ
     - ผู้หญิงสามารถอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย เพราะโดยธรรมชาติมักสรรหาอาหารมากินได้ตลอดเวลา อีกทั้งผู้หญิงจะต้องตั้งครรภ์ทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น เพราะต้องกินอาหารมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์ และบางคนหลังจากคลอดบุตรแล้วก็ไม่สามารถลดน้ำหนักลงให้เท่ากับเมื่อก่อนตั้งครรภ์ได้

    อายุ
    - เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะอ้วนก็เพิ่มขึ้น ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้พลังงานน้อยลง
    กระบวนการทางเคมีที่เกิดกับร่างกาย

    ยา
     - ผู้ป่วยบางโรคนั้น จะได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานก็ทำให้อ้วนได้ และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือใช้ยาคุมกำเนิด ก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน

    ดัชนีมวลกายคืออะไร ?

     ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI)
                    คือ ค่าความหนาของร่างกาย ใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินภาวะอ้วนผอมในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งคำณวนได้จาก การใช้น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมและหารด้วยส่วนสูงที่วัดเป็นเมตรยกกำลังสอง ซึ่งใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ดังสูตรต่อไปนี้
                    ดัชนีมวลกาย (BMI)  =
    น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)

        ส่วนสูง  (เมตร)2
    เช่น น้ำหนักตัว 74 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตร มีดัชนีมวลกายเท่าไหร่ ?         
        ดัชนีมวลกาย (BMI)    =
    74 กก.
     =    28.9  กก./ม.2

    1.60 ม. x 1.60 ม.




    การวัดเส้นรอบเอว

    การวัดเส้นรอบเอว หรือเส้นรอบพุง(โดยทั่วไปจะวัดรอบเอว ตรงระดับสะดือพอดี) เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการก่อโรค ผู้ชายต้องมีเส้นรอบเอวน้อยกว่า 90 เซนติเมตร และผู้หญิงน้อยกว่า 80 เซนติเมตร ถ้าเส้นรอบเอวใหญ่เกินกว่าค่าดังกล่าวนี้แล้วก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆนั้นสูงขึ้น
     เส้นรอบเอวของคนอ้วนที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพไม่ดี
                                  ชาย         
    หญิง
    ตั้งแต่  90 เซนติเมตร ขึ้นไป
    ตั้งแต่  80 เซนติเมตร ขึ้นไป

    วิธีการวัดเส้นรอบเอว

    1. อยู่ในท่ายืน
    2. ใช้สายวัด วัดรอบเอวโดยวัดผ่านสะดือ 
    3. วัดในช่วงหายใจออก (ท้องแฟบ) โดยให้สายวัดแนบกับลำตัว ไม่รัดแน่น และให้ระดับของสายวัดที่วัดรอบเอววางอยู่ในแนวขนานกับพื้น 
    *  เป็นวิธีวัดอย่างง่าย  เพื่อการติดตามเฝ้าระวังภาวะอ้วนลงพุง